Pressure Vessel
บริษัท ถังทอง เอ็นจิเนียริ่ง รับออกแบบและสร้างถังลมแรงดันตามมาตรฐาน ASME SEC V-III Div.1 โดยใช้ช่างเชื่อมที่ผ่านมาตรฐาน ASME Sec. IX Qualification มีใบ Welder Certification และใบ Certificate สำหรับถังลมให้ด้วย
โดยสามารถออกแบบขนาดได้ตามความจุที่ท่านต้องการ ขนาดตั้งแต่ 500ลิตร จนถึง 150,000ลิตร วัสดุมีทั้งเหล็กและสแตนเลส
การคำนวนขนาดของถังลม หรือ Air receiver ในระบบอัดลม
ถังลมเป็นสิ่งจำเป็นในระบบอัดอากาศทุกระบบ มันทำหน้าที่เป็นกันชนและเป็นถังเก็บลมซึ่งจะอยู่ระหว่างคอมเพรสเซอร์และเครื่องมือลม โดยทั่วไปในระบบจะมีอยู่ 2 แบบที่แตกต่างกัน
- PRIMARY receiver - จะอยู่ใกล้กับคอมเพรสเซอร์ หลัง Cooler แต่อยู่ก่อน Filter
- SECONDARY receivers - จะอยู่ปลายท่ออีกด้านตามรูป
Capacity สูงสุดของคอมเพรสเซอร์สำหรับระบบที่ออกแบบมาอย่างดีนั้นจะต้องเกินกว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดของอัตราการใช้เสมอ ดังนั้น Air Receiver จะต้องสามารถรับการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่ค่าต่างๆได้และสามารถเก็บปริมาณของลมได้พอต่อการใช้งาน
ขนาดของถังลม
จะถูกกำหนดของ 2 ปัจจัยหลักคือ
- การเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้
- ขนาดของ Compressor
โดยทั่วไปเราหาปริมาณการใช้สูงสุดโดยรวมจากปริมาณการใช้ลมของเครื่องมือแต่ละตัวแล้วคูณด้วย Factor ของการใช้ ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1 - 1 ขึ้นอยู่กับระบบ ขนาดปริมาตรของถังลมสามารถคำนวนได้จาก
t = V (p1 - p2) / C pa (1)
เมื่อ
V = ปริมาตรของถัง (ลูกบาศ ft)
t = เวลาที่ทำให้แรงดันในถังลมลดลงจากค่าสูงสุดถึงค่าต่ำสุดหน่วยเป็นนาที(min)
C = free air needed (scfm)
pa= ความกดอากาศ (14.7 psia)
p1 = แรงดันสูงสุดของถัง (psia)
p2 = แรงดันต่ำสุดของถัง (psia)
โดยทั่วไปเรามักจะพิจารณาจากตารางด้านล่างนี้
เมื่อ cfm หมายถึง ลูกบาศฟุตต่อนาที
Note! ถังลมที่ไม่มีระบบเสียงร้องเตือนอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้.
ความจุของถังลม
ความจุ (cubic feet) | |||||
ขนาดของถัง | ขนาดของถัง | เกรจแรงดันที่ถัง (psig) | |||
(inches) | (gallons) | 0 | 100 | 150 | 200 |
12 x 24 | 10 | 1.3 | 11 | 15 | 19 |
14 x 36 | 20 | 2.7 | 21 | 30 | 39 |
16 x 36 | 30 | 4.0 | 31 | 45 | 59 |
20 x 48 | 60 | 8.0 | 62 | 90 | 117 |
20 x 63 | 80 | 11 | 83 | 120 | 156 |
24 x 68 | 120 | 16 | 125 | 180 | 234 |
30 x 84 | 240 | 32 | 250 | 360 | 467 |
- 1 ft3 = 0.02832 m3
- 1 inch = 25.4 mm
- 1 psig = 6.9 kPa = 0.069 bar
- 1 Gallon (U.S.) = 3.785x10-3 m3 = 3.785 dm3 (liter) = 231 in3
ที่มา : https://www.engineeringtoolbox.com/